http://valrom.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

เว็บไซต์>ประพันธ์ เวารัมย์

แนวข้อสอบท้องถิ่นและส่วนราชการอื่นๆ (โหลด/ดูข้อมูล)

 รวมรูปภาพ

 เฟซบุ๊ก (facebook) (หัดทำแนวข้อสอบท้องถิ่นและอื่นๆ)

สถิติ

เปิดเว็บ01/07/2011
อัพเดท26/09/2024
ผู้เข้าชม4,158,000
เปิดเพจ6,303,516

ปฎิทิน

« November 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930

เฟซบุ๊ก ประพันธ์ เวารัมย์

ความรู้ต่างๆ ที่น่ารู้ครับ

โบนัส (อปท.) แบบประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฎิบัติราชการฯ

พระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับปฎิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ 2 พ.ศ.2548

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แก้ไข ฉ 2 พ.ศ.2549

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540

จุดเน้นสาระสำคัญพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

จุดเน้นพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงิน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566

จุดเน้นระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2563

จุดเน้นพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

แนวข้อสอบต่างๆ

พ.ร.บ.หรือกฎหมายต่างๆที่น่าออกข้อสอบของส่วนราชการต่างๆ

แนวข้อสอบและแนวคำบรรยายปริญญาโท ม.ราม

มุมอมยิ้ม

สินค้า

 หนังสือสอบ
iGetWeb.com
AdsOne.com

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ >> พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.10)

(อ่าน 2444/ ตอบ 0)

เว็บมาสเตอร์

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระมหากษัตริย์ไทย
ครองราชย์
13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน (3 ปี 201 วัน)
ราชาภิเษก
4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ก่อนหน้า
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ผู้สำเร็จราชการ
เปรม ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
สยามมกุฎราชกุมาร
ดำรงพระยศ
28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 (43 ปี 289 วัน)
สถาปนา
28 ธันวาคม พ.ศ. 2515[sup][1][/sup]
ก่อนหน้า
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร

มเหสี
สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
มเหสี-พระสนม

พระราชบุตร

วัดประจำรัชกาล

วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร[sup][2][/sup]
ราชวงศ์
จักรี
พระราชบิดา
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
พระราชมารดา
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
พระราชสมภพ
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 (67 พรรษา)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
ลายพระอภิไธย






พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว[sup][3][/sup] (พระราชสมภพ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบัน เป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระองค์มีพระเชษฐภคินีและพระขนิษฐภคินีร่วมพระราชชนนีถึง 3 พระองค์


พระราชสมภพ

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชสมภพ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต[sup][4][/sup] เมื่อวันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 เวลา 17:45 น.[sup][5][/sup] ในเวลาดังกล่าว ปืนใหญ่บริเวณสนามเสือป่ากัมปนาทขึ้น 21 นัด ในเวลาเดียวกับ ร.ล. สุโขทัย ก็ได้ยิงสลุตเฉลิมพระเกียรติด้วยจำนวนนัดเท่ากัน ทั้งนี้ ตามโบราณราชประเพณี หากประสูติเจ้าฟ้าชายและเป็นเวลากลางวัน คือไม่เกิน 18.00 น. จะยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติ 21 นัด หากเลยเวลา 18.00 น. จะเลื่อนเวลาการยิงสลุตไปในวันรุ่งขึ้น หากเป็นเจ้าหญิงจะไม่ยิง โดยมีบันทึกว่าเมื่อพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จนิวัติพระนคร ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2494 นั้น พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต ได้กราบบังคมทูลในนามของพระราชวงศ์ มีใจความตอนหนึ่งว่า “เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชธิดา เป็นพระองค์แรกแล้วเช่นนี้ ก็ทรงหวังว่าสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คงจะมีพระราชโอรสเป็นพระองค์ถัดไป” [sup][6][/sup] พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระเชษฐภคินีคือทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และพระขนิษฐภคินีสองพระองค์คือสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นทูลกระหม่อมเพียงพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงที่ไม่มีชื่อเล่น อาจเป็นเพราะทรงเป็น “ทูลกระหม่อมชาย” เพียงพระองค์เดียว คำว่า “ชาย” จึงเป็นเสมือนชื่อที่ใช้แทนพระองค์[sup][7][/sup]

ขณะพระชนมายุได้หนึ่งพรรษา พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระราชทานพระนาม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นผู้ตั้งพระนามถวายตามดวงพระชะตาว่า[sup][8][/sup]

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ

เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ
บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ

เทเวศรธำรงสุบริบาล


อภิคุณูปการมหิตลาดุลเดช

ภูมิพลนเรศวรางกูร
กิตติสิริสมบูรณสวางควัฒน์

บรมขัตติยราชกุมาร


พระนาม "วชิราลงกรณ" นั้น สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงตั้งถวาย มาจาก "วชิระ" พระนามฉายาทั้งในพระองค์เองและในขณะผนวชของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผนวกกับ "อลงกรณ์" จากพระนามเดิมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[sup][9][/sup][sup][10][/sup] มีความหมายว่า "ทรงเครื่องเพชรหรืออสนีบาต"[sup][11][/sup]

เบื้องหลัง การตั้งพระนาม

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้พระราชทานพระนาม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นผู้ตั้งพระนาม สมเด็จพระสังฆราชทรงให้ภิกษุทรง สมณศักดิ์ 3 รูป ได้แก่ พระพรหมมุณี พระโสภณคณาภรณ์ และพระครูสมุห์อนุวัฒน์ไปช่วยกันคิด โดยคิดพระนามต้นส่งไปทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเพื่อทรงเลือกในชั้นหนึ่งก่อน พระนามเหล่านั้นทรงแยกออกเป็น 5 ประเภท คือ[sup][12][/sup]

      • 1. ลงท้ายด้วยคำ “ลงกรณ” มี ขัตติยลงกรณ คคนาลงกรณ คุณาลงกรณ กกุธาลงกรณ ขัตติยจกริยาลงกรณ
      • 2. ลงท้ายด้วยคำ “มงกุฏ” มีขัตติยมงกุฏ วชิรมงกุฏ
      • 3. ลงท้ายด้วยคำ “อดุลยเดช” มี กฤดาดุลยเดช ขัตติยาดุลยเดช ประดิพลดุลยเดช
      • 4. ลงท้ายด้วยคำ “วุธ” มี กฤตจักราวุธ ขัตติจักราวุธ
      • 5. ลงท้ายด้วยคำ “ประชานาถ” มี กฤดาภิพลประชานาถ ประดิพลประชานาถ ปฏิพลประชานาถ

โดยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้ ทรงเลือก “วชิราลงกรณ”

ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงศึกษาและเลือกเฟ้นพระราชทานแก่พระบรมราชปิโยรสด้วยพระองค์เอง โดยประกอบขึ้นมาจากคำอันเป็นสิริมงคล 2 คำ คือคำว่า “วชิระ” กับคำว่า “อลงกรณ”

พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่






พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ขึ้น ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ในระหว่างวันที่ 14-15 กันยายน พ.ศ. 2495[sup][13][/sup] โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ทรงเป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์ในเย็นวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2495[sup][14][/sup]

เช้าวันรุ่งขึ้น (15 กันยายน) จึงมีพิธีสงฆ์และพิธีพราหมณ์ในห้องพิธี เริ่มด้วยพอถึงพระฤกษ์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงจรดพระกรรบิดกริบพระเกศา ทรงเจิม ทรงผูกด้ายพระขวัญ พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา พราหมณ์ประกอบพิธีลอยกุ้ง ปลาทอง มะพร้าวเงิน มะพร้าวทองลงในพระขันสาคร แล้วพระสงฆ์ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา พระมหาราชครูเชิญเสด็จขึ้นพระอู่และเห่กล่อมเปิดศิวาลัยไกรลาศตามประเพณีพิธีของพราหมณ์ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงวางพระราชภัณฑ์ลงในพระอู่ตามพระราชประเพณีแล้ว พระมหาราชครูเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณฯ ขึ้นพระอู่แล้ว พระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาทเวียนเทียนครบรอบตามประเพณี ได้แก่ บรรเลงเพลงมหาชัย บรรเลงเพลงบะหลิ่มและสระบุหร่ง บรรเลงเพลงขับไม้บัณเฑาะว์ และบรรเลงเพลงกราวรา สภาวัฒนธรรมแห่งชาติได้จัดขับไม้มโหรีขับกล่อมถวายพระพรในวาระนี้ด้วย ในการนี้มีการถ่ายทอดเสียงในพระราชพิธีทางวิทยุไปทั่วประเทศ[sup][13][/sup][sup][15][/sup][sup][16][/sup] นอกจากนี้ ในวันช่วงเช้าของวันที่ 6 เมษายน 2497 อันเป็นวันที่ระลึกมหาจักรี ประชาชนต่างพากันหลั่งไหลมายังท้องสนามหลวง เนื่องจากได้มีประกาศทางวิทยุกระจายเสียงและหนังสือพิมพ์ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีจะทรงพาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ออกให้ประชาชนเฝ้าเป็นครั้งแรกอีกด้วย[sup][17][/sup]

การศึกษา

เมื่อทรงพระเจริญมีพระชนมายุได้ 4 พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เริ่มการถวายพระอักษร ได้ทรงเข้าศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนจิตรลดา เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2499 ในขณะนั้นโรงเรียนนี้ยังตั้งอยู่ที่พระที่นั่งอุดร พระราชวังดุสิต ต่อมาจึงได้ย้ายไปตั้งในบริเวณพระราชฐานสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อที่จะได้ทรงดูแลการศึกษาของทูลกระหม่อมเจ้าฟ้าทุกพระองค์ได้อย่างใกล้ชิด[sup][18][/sup]เหตุผลในการตั้งโรงเรียนจิตรลดาเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๙) ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอทรงพระอักษรในบรรยากาศของโรงเรียน ที่มีบุตรธิดาของข้าราชบริพาร ซึ่งมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกันร่วมศึกษาด้วย ไม่โปรดที่จะให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอทรงพระอักษรเฉพาะองค์กับพระอาจารย์ ถ้าโรงเรียนอยู่ในลักษณะเช่นนี้ เมื่อทรงมีพระราชประสงค์จะทรงแนะนำสิ่งใด โรงเรียนจะได้ปฏิบัติตามพระราชประสงค์ได้ง่ายกว่าที่จะต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายของโรงเรียนอื่นที่เขามีแนวปฏิบัติอย่างอื่นมาก่อนแล้ว อีกประการหนึ่ง ทรงทราบว่าโรงเรียนทั่วไปจะไม่กล้าปฏิบัติต่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธออย่างนักเรียนอื่น ทรงเกรงจะได้อภิสิทธิ์ ซึ่งไม่ตรงกับพระราชประสงค์ในการอบรมสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ สำหรับกิจวัตรนั้น มีบันทึกว่าพระองค์ตื่นบรรทมเวลาประมาณ 7.00 น. เสด็จออกกำลังกายวิ่งเล่น ทรงจักรยาน ทรงเล่นหมากฮอส จนเวลาประมาณ 8.00 น. จึงสรงน้ำ เสวย โดยทูลกระหม่อมฟ้าชาย (พระอิสริยยศ) ทรงโปรดเสวยข้าวตุ๋นกับเนย โจ๊ก แกงจืด บวบ และเครื่องไทยมากที่สุด [sup][19][/sup] และเสด็จไปโรงเรียนซึ่งตรงเวลาตลอด[sup][20][/sup]

ในส่วนของผลการเรียน พระองค์ทรงทำคะแนนวิชาคำนวณได้คะแนนเต็มเสมอ รองลงมาคือวิชาภาษาอังกฤษ วิชาที่โปรดมากอีกอย่างคือวาดเขียนและปั้นรูป นอกเหนือจากนั้น วิชาที่ทรงโปรดมากอีกวิชาคือวิชาลูกเสือ เพราะนอกจากจะได้ทรงออกกำลังกายกลางแจ้งแล้วยังทรงได้ฟังนิทานและได้ทรงร้องเพลงที่สนุกสนานอีกด้วยวันใดที่มีการฝึกลูกเสือสำรองจะทรงตื่นบรรทมเช้ากว่าปกติ เตรียมฉลององค์ลูกเสือด้วยพระองค์เอง สิ่งแรกที่จะทรงทำหลังจากตื่นพระบรรทมก็คือ ขัดหัวเข็มขัดและรองพระบาทสำหรับเครื่องแบบลูกเสือ ทำความสะอาดพระนขาพร้อมสำหรับรับการตรวจอยู่ตลอดเวลา [sup][21][/sup] ทูลกระหม่อมฟ้าชายยังทรงเรียนหัดโขน โดยทรงเล่นเป็นตัวลิง ยักษ์ วิรุฬจำบังแปลง และทศกัณฑ์ และทรงโปรดฝึกฝนการขี่ม้า ซึ่งพระองค์ทรงฝึกฝนการขี่ม้าทุกเช้าวันอาทิตย์ เวลา 7.30 น. และบ่ายวันพฤหัสบดี เวลา 16.00 น.[sup][22][/sup] ทั้งนี้ พระบรมราชชนกไม่มีพระราชประสงค์ให้เสด็จฯ ต่างประเทศก่อนพระชนม์ 14–15 ปี เนื่องจากมีพระราชประสงค์จะรอให้ทูลกระหม่อมฟ้าชายเรียนรู้ภาษาไทยได้ดี รู้จักขนบธรรมเนียมประเพณีไทย และซาบซึ้งในศาสนาพุทธเสียก่อน[sup][23][/sup] ทรงศึกษาอยู่ที่โรงเรียนจิตรลดาจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จึงเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อ ณ โรงเรียนคิงส์ มีด เมืองซีฟอร์ด แคว้นซัสเซกส์ ประเทศอังกฤษ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2509 ทั้งนี้ในคืนวันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ เวลา ๒๐.๐๐ น. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ทรงปราศรัยกับประชาชนชาวไทย ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและสถานีวิทยุโทรทัศน์ เพื่อทรงอำลาประชาชนชาวไทย [sup][24][/sup] ต่อจากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาที่โรงเรียนมิลฟิลด์ เมืองสตรีท แคว้นซอมเมอร์เซท เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2509 จนถึงปี พ.ศ. 2513 ซึ่งเดิมทีนั้นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชประสงค์ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณเสด็จไปทรงศึกษาต่อในชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนรักบี้ตามที่กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงจัดหาไว้ให้แต่ทรงเปลี่ยนพระทัยเมื่อครั้งเสด็จเยี่ยมสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ และผู้อำนวยการโรงเรียน คิงส์ มีด ได้ถวายการแนะนำให้ไปทรงศึกษาที่โรงเรียนมิลฟิลด์ซึ่งมีความ ทันสมัยมากกว่า [sup][25][/sup] โดยในระหว่างที่ทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ พระองค์ได้เคยให้สัมภาษณ์ว่า “ทรงทำทุกอย่างด้วยพระองค์เอง ไม่ว่าจะเป็นการซักฉลองพระองค์ หรือขัดรองพระบาท โดยไม่มีบุคคลอื่นให้ความช่วยเหลือ เฉกเช่นสามัญชนทั่วไป”[sup][26][/sup] พระองค์มีพระลักษณะพิเศษด้วยทรงสนพระทัยในกิจการเกี่ยวกับกองทัพอยู่เสมอตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ พระบรมราชชนกมีพระราชดำริเห็นว่า การศึกษาวิชาทหารในประเทศออสเตรเลียมีหลักสูตรสอนกว้างขวางและเข้มงวด ซึ่งหลักสูตรของคิงส์สคูลไม่เหมือนกับที่ได้ทรงศึกษามาในอังกฤษเลย จึงเท่ากับว่าพระองค์จะต้องทรงศึกษาวิชาใหม่ทั้งหมดในชั้นปีสุดท้ายแห่งโรงเรียนคิงส์ ภายในเวลาไม่ถึง 1 ปี แต่พระองค์ก็ทรงมีความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยว และได้รับสั่งออกมาว่า “ต้องสู้เขาให้ได้” ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2513 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์ทรงศึกษาวิชาการทหาร ณ ประเทศออสเตรเลีย[sup][27][/sup] ทรงเข้ารับการศึกษาระดับเตรียมทหารที่โรงเรียนคิงส์ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ทรงศึกษาอยู่จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2514 โดยในระหว่างการศึกษาพระองค์ทรงได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าบ้านแมคอาเธอร์เฮาส์[sup][28][/sup] นอกจากนี้ในด้านกิจกรรมอื่น ๆ ทูลกระหม่อมฟ้าชายทรงโปรดกีฬาฟุตบอลเป็นอย่างมาก ทรงเล่นได้ทุกตำแหน่งในทีมและเล่นได้ดีมากด้วย ทรงเคยเป็นดารายิงประตูให้กับทีมถึง 5 ประตู ทำให้โรงเรียนคิงส์ได้รับชัยชนะในคราวแข่งขันฟุตบอลชิงชนะเลิศ พระองค์ยังเคยได้รับถ้วย ซอวอเรน ของสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธจากการแข่งขันฟุตบอลมาแล้ว และยังเป็นหัวหน้าบ้านมีหน้าที่รับผิดชอบในด้านต่าง ๆ เช่น เป็นผู้ตรวจตรา ดูแลรับผิดชอบในด้านความเรียบร้อยและระเบียบต่าง ๆ ทั่วไป และในตอนเช้าจะมีนักเรียนมาชุมนุมกันเพื่อรายงานกิจกรรมที่ได้กระทำไปแต่เมื่อวันก่อนให้ทราบ โดยเวลาอยู่ในสถานศึกษาพระองค์ทรงปฏิบัติพระองค์เช่นเดียวกับสามัญชนทั่วไป ไม่มีการถือพระองค์แม้แต่น้อย จึงทรงเป็นที่เคารพนับถือของพระสหายทั่วหน้าไม่โปรดการที่จะทรงใช้สิทธิพิเศษใด ๆ เลย เพราะทรงเห็นว่าการใช้อภิสิทธิ์เป็นการเอาเปรียบผู้อื่นและแสดงความอ่อนแอ และความไม่มีความสามารถของตนเองพระองค์เคยรับสั่งแก่ผู้ใกล้ชิดเสมอว่า “คนเราต้องทำงานเพื่อแลกกับสิ่งที่ตนต้องการไม่ควรรับหรือแสวงหาสิ่งอันใด อันเป็นการได้เปล่าโดยไม่ต้องทำงาน”[sup][29][/sup]หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2515 ทรงเข้าศึกษาในวิทยาลัยการทหารชั้นสูงที่วิทยาลัยการทหารดันทรูน กรุงเคนเบอร์รา ในการสอบไล่ในปี พ.ศ. 2515 พระองค์ทรงสอบได้เป็นที่ 7 จาก นักเรียน ทั้งหมด 125 คน [sup][30][/sup]นอกจากหลักสูตรทางการทหาร ในวิทยาลัยการทหารดันทรูน นักศึกษาจะต้องเรียนวิชาสามัญด้วย โดยมีวิชาให้เลือก 3 แผนก คือ แผนกวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และอักษรศาสตร์และประวัติศาสตร์ ในหลักสูตรสามัญทรงเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาอักษรศาสตร์ ทรงสนพระทัยในวิชาประวัติศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์เป็นอย่างมาก พันตรีสำเริงได้เขียนหนังสือบรรยายถึงพระอิริยาบถของพระองค์ โดยในข้อความตอนหนึ่งระบุว่า พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดทำอาหารเสวยเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารไทยประเภทเนื้อและผักสด พระองค์ทรงเจียวไข่และปรุงสะเต๊กได้รสดีมาก และโปรดร้องเพลงมาก โดยเฉพาะเพลงของสุเทพ และ หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี โดยในระหว่างศึกษาที่วิทยาลัยการทหารดันทรูนนั้น พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้พระนามว่า staff cadet V. Mahidol หรือ นักเรียนนายร้อย วี. มหิดล [sup][31][/sup] จนสำเร็จการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2519[sup][32][/sup]

เมื่อนิวัติประเทศไทยทรงรับราชการทหารแล้วทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก รุ่นที่ 46 เมื่อ พ.ศ. 2520 ทรงเข้าศึกษาในสาขาวิชานิติศาสตร์ รุ่นที่ 2 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เมื่อ พ.ศ. 2525 ทรงสำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) และ พ.ศ. 2533 ทรงได้รับการศึกษา ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรแห่งสหราชอาณาจักร[sup][33][/sup]

พระจริยาวัตรขณะประทับอยู่ออสเตรเลีย

พันตรี สำเริง ไชยยงค์ พระอภิบาลของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ประทับอยู่ออสเตรเลียได้เล่าถึงพระจริยาวัตรขณะประทับอยู่ที่ออสเตรเลียว่า โดยปกติในวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ จะเสด็จไปประทับพักผ่อนพระอิริยาบถที่บ้านพักของพันตรี สำเริง ไชยยงค์ ทรงซักรีดฉลองพระองค์ ทรงทำความสะอาดรถยนต์พระที่นั่งโฟลคสวาเกน ทรงต่อโมเดลรถถัง รถรบ เครื่องบินทหารแบบต่างๆ ทรงการบ้าน หรือทรงพระสำราฐกับการฟังแผ่นเสียงหรือเทปเพลงไทย ทรงร้องเพลง ทรงแต่งละครย่อย แต่งบทเสภาแล้วทรงอัดเทปไว้ [sup][34][/sup] สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ทรงห่วงใยประชาชนผู้ยากจนอยู่เป็นเนืองนิตย์ จะเห็นได้ว่าระหว่างที่ประทับอยู่ในออสเตรเลีย เวลาเสด็จพระราชดำเนินไปยังที่ใดได้ทอดพระเนตรเห็นความเจริญ และความอยู่ดีกินดีของชาวออสเตรเลียมักจะทรงรับสั่งเสมอว่าทรงคิดถึงประชาชนชาวไทย โดยเฉพาะพวกที่ลำบากยากจนต้องอาศัยอยู่ตามแหล่งสลัม พระองค์ทรงดำริอยู่เสมอว่าพระองค์จะหาทางช่วยเหลือประชาชนที่กำลังทุกข์ยากเหล่านี้ให้มีความสุข จะทรงใช้เวลาว่างพินิจพิจารณาเพื่อหาทางแก้ไขด้วยพระองค์เองให้จงได้ [sup][35][/sup]

สำหรับพระกิจวัตรในวันศุกร์ ซึ่งเป็นวันที่โรงเรียนจะปล่อยให้นักเรียนนายร้อยมีนัดเที่ยวกับเพื่อนหญิงได้ แต่ต้องกลับเข้าโรงเรียนก่อนเที่ยงคืน แต่ทูลกระหม่อมไม่เสด็จไปไหน มักทรงอักษรหรือไม่ก็ค้นคว้าอยู่ในห้องสมุดของโรงเรียน บางครั้งก็ทรงออกกำลังกาย [sup][36][/sup]

ในเรื่องการเล่าเรียนนั้นพระองค์ต้องการเรียนรู้ด้วยพระองค์เองว่านักเรียนนายร้อยที่เรียนเก่งที่สุดของโรงเรียน ปฏิบัติตัวและฝึกฝนอย่างไรบ้างเขาจึงเรียนได้เก่ง พระองค์จึงมักจะไปเยือนนักเรียนที่เรียนเก่งถึงบ้านและทะนงใช้เวลาอยู่ร่วมกันเป็นวันๆ เพื่อขอทราบเคล็ดลับและคำแนะนำต่างๆ จากนักเรียนเก่งเหล่านั้น [sup][37][/sup]



สยามมกุฎราชกุมาร



 ดูเพิ่มที่ พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร








พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร




เมื่อพระองค์ทรงเจริญพระชนมพรรษา 20 พรรษา และทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการตั้งการพระราชพิธีสถาปนาเฉลิมพระนามาภิไธยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ให้ทรงดำรงพระราชอิสริยยศขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต[sup][38][/sup] มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ
บดินทรเทพยวรางกูร
สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒน์
วรขัตติยราชสันตติวงศ์
มหิตลพงศอดุลยเดช
จักรีนเรศยุพราชวิสุทธิ
สยามมกุฎราชกุมาร


นับเป็นสยามมกุฎราชกุมารพระองค์ที่ 3 ของไทย[sup][39][/sup][sup][40][/sup] ทั้งนี้ได้ทรงถวายสัตย์ปฏิญาณสาบานพระองค์ ใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า “ข้าพระพุทธเจ้าผู้เป็นมกุฎราชกุมาร จะรักษาเกียรติยศและอิสริยศักดิ์ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานไว้เสมอด้วยชีวิต จะภักดีต่อชาติ บ้านเมือง จะซื่อสัตย์ต่อประชาชน จะปฏิบัติภาระหน้าที่ทุกอย่างโดยเต็มกำลังสติปัญญาความสามารถและโดยความเสียสละ เพื่อความเจริญ ความสงบสุข และความมั่นคงไพบูลย์ของประเทศชาติไทยจนตราบเท่าชีวิตร่างกายจะหาไม่[sup][41][/sup]

ผนวช

ต่อมาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารมีพระทัยศรัทธาจะอุปสมบทในพระพุทธศาสนา[sup][42][/sup] โดยได้ทรงพยายามหาโอกาสในวันหยุดเสด็จไปเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชและทรงเยี่ยมพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ทรงสนทนาศึกษาธรรมะคำสั่งสอนของสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า[sup][43][/sup]พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชจึงโปรดเกล้าฯ ให้ผนวชในวันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 เวลา 15.37 น. ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม[sup][44][/sup] โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสน์ วาสโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และสมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณโก) ถวายอนุสาสน์ ผนวชแล้วเสด็จฯ ไปทำทัฬหีกรรม ณ พระอุโบสถพระพุทธรัตนสถาน เมื่อเวลา 16.59 น. โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์[sup][45][/sup] เสร็จแล้วเสด็จฯ ไปประทับ ณ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร[sup][46][/sup] พระมหารัชมงคลดิลก (บุญเรือน ปุณฺณโก) เป็นพระอภิบาล[sup][47][/sup] “ตลอดระยะเวลาแห่งการผนวชนั้นทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานาประการ เช่น ทรงร่วมทำวัตรเช้าเย็น ทำสังฆกรรม สดับพระธรรม เทศนา และทรงศึกษาพระธรรมวินัย ร่วมกับพระภิกษุอื่น ๆ เสด็จพระราช ดำเนินไปทรงรับภัตตาหารบิณฑบาต จากพระบรมวงศานุวงศ์ข้าราชการ และประชาชน ณ สถานที่ต่าง ๆ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงสักการะสมเด็จ พระสังฆราช และพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ณ พระอาราม ต่าง ๆ เสด็จพระราชดำเนินไปทรง สักการะพระพุทธรูปสำคัญ เจดียสถาน และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในส่วนภูมิภาค และเสด็จออกให้คณะสงฆ์และคณะบุคคลต่าง ๆ เข้าเฝ้าถวายสักการะ เป็นต้น” 16 พฤศจิกายน 2521 ทรงมีพระราชดำรัสตอบต่อที่ประชุมสงฆ์ วัดพระมหาธาตุจังหวัดนครศรีธรรมราช อันมีใจความตอนหนึ่งว่า “การบวชของกระผมในครั้งนี้เป็นการบวชด้วยศรัทธาอันแรงกล้าที่จะศึกษาพระธรรมอันมีค่าสูงสุด โดยมุ่งหวังที่จะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติต่อไป” [sup][48][/sup] [sup][49][/sup] ผนวชอยู่ 15 วันจึงลาผนวช ณ พระตำหนักปั้นหย่า ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 เวลา 10.15 น.[sup][50][/sup]

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงลาสิกขา เมื่อวัน ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๑ เวลา ๑๐.๓๐ จากนั้นได้เสด็จพระราชดำเนินไปถวายสักการะทูลลาสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์วาสโน) ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และเสด็จพระราชดำเนินกลับพระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต ในตอนบ่ายวันเดียวกันเสด็จพระราชดำเนินโดยเครื่องบินพระที่นั่งไปยังพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร เพื่อเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ถวายพระราชกุศลแล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ [sup][51][/sup]

การทหาร






สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารทรงปฏิบัติการฝึกเครื่องบินรบแบบเอฟ-5




ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ พระองค์ทรงแสดงความสนพระราชหฤทัยในกิจการกองทัพ และขณะประทับอยู่ในประเทศไทยได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมที่ตั้งทหารหลายแห่ง[sup][52][/sup] หลังทรงสำเร็จการศึกษาด้านการทหารจากประเทศออสเตรเลีย รวมถึงทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรอื่น ๆ แล้ว ทรงเคยเข้าร่วมปฏิบัติการรบในการต่อต้านการก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ทั้งยังเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมให้กำลังใจแก่ตำรวจ ทหาร และเจ้าหน้าที่ อส. บริเวณพื้นที่อันตราย[sup][53][/sup]

เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2508 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตาแหน่งพระยศทางการทหาร คือ ร้อยตรีเหล่าทหารราบ เรือตรีเหล่าทหารนักบิน พรรคนาวิน และ เรืออากาศตรี แห่งกองทัพทั้งสาม และนายทหารพิเศษประจากรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์[sup][54][/sup] จากนั้นได้ทรงเข้ารับการฝึกปฏิบัติตามหลักสูตรการกระโดดร่มภาคพื้นดิน ณ ค่ายนเรศวร ได้รับพระราชทานปีกนักโดดร่มชั้น 1 กิตติมศักดิ์ในเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2514 และได้ทรงพระกรุณาฯ โปรดเกล้าฯ เลื่อนขึ้นเป็น ร้อยโท เรือโท และเรืออากาศโท [sup][55][/sup] ทรงดำรงตำแหน่งทางทหารตั้งแต่ระดับรองผู้บังคับกองพัน ,ผู้บังคับกองพัน, ผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ และองค์ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ทรงดำรงพระองค์เป็นแบบอย่างและพระราชทานคำสั่งสอนแก่ข้าราชบริพารทุกหมู่เหล่าด้วยพระองค์เอง และมีการเทิดทูนยกย่องพระองค์เป็น “บรมครูทางการทหาร”[sup][56][/sup]

เนื่องด้วย 18 มกราคม ของทุกปีตรงกับวันสถาปนากองทัพไทย โดยในปี 2563 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ เสด็จฯ ในพิธีสวนสนามถวายสัตย์ปฏิญาณตนของกองกำลังผสม เนื่องในวันกองทัพไทย ประจำปี 2563 การนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสเนื่องในวันกองทัพไทย ความว่า “ข้าพเจ้าและพระราชินีมีความชื่นชมยิ่งนักที่ได้มาอยู่ในท่ามกลางเหล่าทหารและตำรวจ ในพิธีสวนสนามถวายสัตย์ปฏิญาณครั้งนี้ ขอขอบใจในคำอำนวยพรและไมตรีจิตของทุก ๆ คน และขอสนองพรทั้งน้ำใจไมตรีนั้นด้วยใจจริงเช่นกัน ประเทศ ชาติจะเป็นปึกแผ่นมั่นคงได้ก็ด้วยคนไทยทุกหมู่เหล่า พร้อมเพรียงกันปฏิบัติหน้าที่ของตน โดยมีอุดมคติและจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกันคือ ประโยชน์สุขของทุกคนในชาติ ข้าพเจ้าจึงยินดีมากที่ได้เห็นความพร้อมเพรียงของทหารและตำรวจในวันนี้ ทั้งได้ฟังคำปฏิญาณแสงความจงรักภักดีและเจตนาอันแน่วแน่ที่จะปฏิบัติหน้าที่เพื่อประเทศชาติและประชาชน ขอให้นายทหาร นายตำรวจทุกคน รักษาคำปฏิญาณที่ได้ให้ไว้อย่างเคร่งครัด และตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงตรง เข้มแข็งและเสียสละ พร้อมทั้งหมั่นศึกษาและฝึกฝนตนเองให้มีความจัดเจนคล่องแคล่วในหน้าที่และในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น ฝ่ายอื่นอยู่เสมอ ทุกคน ทุกฝ่ายจะได้สามารถร่วมมือร่วมใจกันสร้างสรรค์ความวัฒนาผาสุกให้แก่ประชาชนและประเทศชาติได้ตามอุดมคติที่ตั้งมั่นไว้ตลอดไป ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พร้อมทั้งอำนาจแห่งความภักดีโดยบริสุทธิ์ใจต่อบ้านเมือง จงบันดาลให้ท่านทั้งหลายประสบแต่ความสุข ความเจริญและความสามัคคี สวัสดีมีชัยโดยทั่วกัน” จากนั้นประทับพระราชอาสน์ทอดพระเนตรกองกำลังสวนสนามภาคอากาศและกำลังภาคพื้น พร้อมทั้งยุทโธปกรณ์ที่นำมาสวนสนามในส่วนของกองทัพบก ถือเป็นการสวนสนามครั้งยิ่งใหญ่ครั้งแรกในรัชสมัยนี้ โดยเหล่าทัพได้นำยุทโธปกรณ์เกือบทุกแบบที่มีประจำการเข้าร่วม ไม่ต่างจากสวนสนามแสนยานุภาพ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ที่ลานพระราชวังดุสิต ในงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว [sup][57][/sup]

พระนิพนธ์

ครั้นยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารทรงสืบสายพระโลหิตจากพระบรมราชวงศ์ศิลปิน เนื่องแต่องค์พระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ทรงเป็นศิลปินมาตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารโปรดการปั้น การแกะสลัก และการวาดรูปมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ทรงหัดโขนเป็นตัวทศกรรฐ์ในงานเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๖๐ พรรษา ของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ในด้านวรรณศิลป์ [sup][58][/sup] พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระอัจฉริยะทางการประพันธ์มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ โดยได้ทรงพระนิพนธ์ เรื่อง “น้ำท่วม” ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับ การรับผิดชอบต่อหน้าที่ การตระหนักถึงประโยชน์ส่วนใหญ่มากกว่าการเล่นสนุกตั้งแต่มีพระชนม์เพียง 12 พรรษา [sup][59][/sup] พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศสยามมกุฎราชกุมาร ทรงใช้เวลาส่วนพระองค์ที่เหลือจากงานราชการและการศึกษาซึ่งมีอยู่ไม่มากนัก ด้วยการทรงงานอดิเรก เช่น ทรงแต่งบทกลอนและบทละครสั้น ๆ แล้วอัดเทปไว้ฟัง ทรงฝึกการขับเสภา ส่วนมากมักจะทรงพระนิพนธ์บทกวี พรรณาชีวิตของพระองค์ในต่างแดน ทรงบริหารพระวรกาย เช่น ทรงวิ่ง ทรงฟุตบอล โดยเฉพาะงานพระนิพนธ์บทกลอนนั้น ทรงมีความสามารถเป็นพิเศษ ดังบทพระนิพนธ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งได้ทรงไว้ในหลายโอกาส เช่น ระหว่างการฝึกทหาร เช่น บทพระนิพนธ์ถวายบังคมทูลพระกรุณาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสที่ทรงเข้าศึกษา ณ โรงเรียนนายร้อยดันทรูน ออสเตรเลีย ความตอนหนึ่งว่า “เมื่อสิบสองมกรา หนึ่งห้า ลูกคลาคลาด ต้องนิราศ จากไป ไกลนักหนา จำใจจาก แม่พ่อ คลอน้ำตา นึกขึ้นมา คราใด ใจอาวรณ์ ลูกจากไป ครานี้ มีจิตมั่น จะขยัน และทำตาม คำพร่ำสอน ถึงลำบาก อย่างไร ไม่อุทธรณ์ สู้ทุกตอน ตามประสงค์ จำนงใจ”[sup][60][/sup] และบทพระนิพนธ์ที่ทรงนิพนธ์ขึ้นเพื่อถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม พ.ศ. 2515 “แม่รักชาย ห่วงชาย ชายก็รู้ ชายจะสู้ สุดชีวิตอย่าสงสัย จะทำตัวให้สมแม่วางใจ จะรักไทย กู้ศักดิ์ศรีจักรีวงศ์ จะรักหญิงที่เขาเข้าใจแม่ จะแน่วแน่พุทธศาสน์ถือพระสงฆ์ การสวดมนต์ไหว้พระจะดำรง จะมั่นคงรักชาวไทยไม่เสื่อมคลาย [sup][61][/sup] นอกจากนี้ในบทพระนิพนธ์ในหลายโอกาสได้แสดงให้เห็นถึงความรักชาติของพระองค์ เช่น การที่พระองค์เข้าร่วมพิธีวัน Australian and New Zealand Army Corps ซึ่งเป็นวันที่ระลึกถึงทหารที่ร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้ทรงพระนิพนธ์กลอนเกี่ยวกับวันดังกล่าว ส่วนหนึ่งว่า “ถ้าชาติเรามีวันนี้จะดีมาก คนลำบากเสียสละได้ศักดิ์ศรี เป็นตัวอย่างเป้าหมายให้ทำดี ชาติทวีวีรบุรุษสุดนิยม” [sup][62][/sup]



กิจกรรมปั่นจักรยานเฉลิมพระเกียรติ





สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารทรงปั่นนำขบวน Bike for Mom ปั่นเพื่อแม่




ในปี พ.ศ. 2558 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารมีพระราชปณิธานที่จัดกิจกรรมจักรยานถวายพระเกียรติและถวายความจงรักภักดีเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยได้ทรงจักรยานพระที่นั่งนำประชาชนทั่วประเทศปั่นจักรยานในกิจกรรม Bike for Mom - ปั่นเพื่อแม่ จัดกิจกรรมวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558 และกิจกรรม Bike for Dad - ปั่นเพื่อพ่อ จัดกิจกรรมวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ในกิจกรรมประชาชนได้ร่วมใจกันแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ตลอดเส้นทางมีพสกนิกรเฝ้ารับเสด็จอย่างเนืองแน่น[sup][63][/sup]

ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7






พระราชกรณียกิจ : ด้านทหาร

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร ทรงรับราชการทหารมาโดยตลอด นับแต่เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2518 ทรงเข้าเป็นนายทหารประจำกรมข่าวทหาร บก กระทรวงกลาโหม วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2521 ทรงดำรงตำแหน่ง รองผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 ทรงดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2427 ทรงดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ วันที่ 30 กรกฏาคม พ.ศ. 2531 ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2535 ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด และเนื่องด้วยพระองค์ทรงพระปรีชาชาญในวิทยาการด้านการบิน ทรงรอบรู้เทคนิคสมัยใหม่ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เคยทรงเข้าร่วมการแข่งขันการใช้อาวุธทางอากาศ ณ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี และทรงชนะเลิศการแข่งขัน เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2530 พระองค์ทรงมีชั่วโมงฝึกบินอย่างต่อเนื่องสูงมาก และถือว่าเป็นสิ่งที่ยากสำหรับนักบินทั่วโลกจะทำได้ พระองค์ทรงพระกรุณาปฎิบัติหน้าที่ครูการบินเครื่องบินขับไล่ แบบ เอฟ ๕ อี/เอฟ ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2537 เป็นต้นมา นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ และเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของกองทัพไทย และปวงชนชาวไทย

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงดำรงพระยศทางทหารของ 3 เหล่าทัพ คือ พลเอก พลเรือเอก และพลอากาศเอก และได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านการทหาร โดยทรงเข้าร่วมปฏิบัติการรบในการต่อต้านการก่อการร้ายในภาคเหนือ และภาคตระวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย รวมทั้งการคุ้มกันพื้นที่ในบริเวณรอบค่ายผู้อพยพชาวกัมพูชา ที่เขาล้าน จังหวัดตราด ด้วย ซึ้งแม้เป็นพระราชภารกิจที่ต้องทรงเสี่ยงภยันตราย แต่ด้วยความที่ทรงเป็นชาติชายทหาร และเป็นพระราชภารกิจเพื่อความผาสุกของพสกนิกร และเพื่อมนุษยธรรมต่อผู้ประสบทุกข์ยาก จึงทรงปฏิบัติพระราชภารกิจดังกล่าวโดยเต็มพระราชกำลัง

ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือจดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555





พระราชกรณียกิจ : ด้านการกีฬา

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร ทรงปฎิบัติพระราชกรณียกิจ ทั้งในฐานะผู้แทนพระองค์และในส่วนของพระองค์เองนานัปการ เช่น การพระราชทานไฟพระฤกษ์ กีฬาเยาวชนแห่งชาติ พระราชทานพระราชวโรกาสให้นักกีฬาไทยผู้นำความสำเร็จนำเกียรติยศมาสู่ประเทศ ชาติ เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทรับพระราชทานรางวัลนักกีฬายอดเยี่ยม รับพระราชทานพร และทรงแสดงความชื่นชมยินดี ซึ่งนักกีฬาของไทยต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ มีความปลาบปลื้มในสิริมงคลและมีขวัญกำลังใจที่จะนำความสำเร็จและนำเกียรติยศ มาสู่ตนเอง สู่วงศ์ตระกูล และประเทศชาติต่อไป และเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2541 ได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงประกอบพิธีเปิดกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ทำให้นักกีฬามีขวัญและกำลังใจในการแข่งขัน เป็นการเสริมสรางพลังใจให้นักกีฬาเกิดความมุ่งมั่นในการสร้างผลงานและชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติ ทำให้นักกีฬาไทยประสบชัยชนะนำเหรียญรางวัลมาสู่ประเทศไทยเป็นจำนวนมาก 

กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ “ปั่นเพื่อแม่ Bike for Mom” และ ปั่นเพื่อพ่อ Bike for Dad”

เพื่อ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 83 พรรษา สมเด็จพระบรม โอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเชิญชวนประชาชนทั่วประเทศเป็นแขกของพระองค์ รวมปั่นจักรยานอยางพร้อมเพรียงกัน ในกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ “ปั่นเพื่อแม่ Bike For Mom” พระราชทานเสื้อสำหรับใส่ปั่นจักรยาน เข็มกลัดของขวัญที่ ระลึก และน้ำดื่ม พระราชทาน เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พุทธศักราช 2558 ทรงนำประชาชนปั่นจักรยานพร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า พัชรกิติยาภา เป็นระยะทาง 43 กิโลเมตร มีประชาชนจาก 77 จังหวัดทั่วประเทศเขาร่วมกิจกรรมมากถึง 136,411 คน และสามารถ สร้างสถิติโลก กินเนสส์บุก เวิลด์ เรคคอร์ด ได้สำเร็จ เป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างความสามัคคีของคนในชาติ ส่งเสริมให้ประชาชน ได้ออกกำลังกายให้รางกายสมบูรณ์แข็งแรง ปลูกฝังให้ประชาชนรักการออกกำลังกายและเล่นกีฬาตามพระราชปณิธานของสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ “ปั่นเพื่อพอ Bike For DAD” เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 88 พรรษา 5 ธันวาคม 2558 ทรงมีพระราชปณิธานถวายความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัวรัชกาลที 9 ผ่านกิจกรรมปั่นจักรยานอีกครั้ง ทรงเป็นผู้รวมดวงใจของชาวไทยในการสร้างความรักสามัคคี พระราชทานเสื้อสำหรับใส่ปั่นจักรยาน เข็มกลัดของขวัญที่ระลึก และน้ำดื่มพระราชทาน และเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พุทธศักราช 2558 เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ นำประชาชนปั่นจักรยานเป็นระยะทาง 29 กิโลเมตร สร้างความปลื้มปิติและเป็นขวัญกำลังใจใหแก่พสกนิกรเป็นที่ยิ่ง มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากถึง 568,427 คน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชทานภาพฝีพระหัตถ์และมีพระราชกระแสขอบใจพสกนิกรในกิจกรรม เฉลิมพระเกียรติ “ปั่นเพื่อพ่อ Bike For DAD” ว่า "ขอขอบใจท่านทั้งหลาย ด้วยความปลาบปลื้มและซาบซึ้งยิ่งนัก การที่ทุกทานได้สำแดง ความสามัคคีและน้ำใจ ตลอดจนความจงรักภักดีต่อองค์พระประมุขและชาติบ้านเมือง นั้น เป็นนิมิตหมายที่ประเสริฐ ประเทศชาติอันเป็น ที่รักของเราทุกคนจะเจริญก้าวหน้าเป็นบ้านที่ร่มเย็นและมั่นคง ก็ด้วยความรักและสามัคคีของคนในชาติ เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม งานนี้ได้ประจักษ์แล้วว่าคนไทย “ทำได้” และปลื้มที่สุด ที่ได้เห็นทุกคน “ปั่นเพื่อพ่อ” จากหัวใจ (คือการแสดงออกด้วยการกระทำนั่นเอง)” พระนามาภิไธย 11 ธันวาคม 2558

ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือจดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555





พระราชกรณียกิจ : ด้านการพระศาสนา

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร ได้ทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2509 ก่อนเสด็จพระราชดำเนินไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ และมีพระราชศรัทธาทรงออกผนวชในพระบวรพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 ระหว่างทรงผนวช ทรงศึกษา และปฎิบัติพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด นอกจากนั้นได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปปฏิบัติพระราชกิจทางศาสนาเป็นประจำเสมอ เช่น ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตามฤดูกาล เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และการถวายกฐินหลวงตามวัดต่างๆ พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา พระองค์ได้ทรงทำการบินเที่ยวบินมหากุศล ในตำแหน่งนักบินที่ 1 เที่ยวบินพิเศษของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) นำคณะพุทธศาสนิกชนไปสักการะปูชนียสถานสำคัญ และยังทรงบริจาคพระราชทรัพย์เพื่อประโยชน์ทางศาสนาอีกมากมาย พระองค์ยังเป็นผู้แทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เปิดงานเมาริดกลางของศาสนาอิสลาม และร่วมกิจกรรมส่งเสริมคริสต์ศาสนา ศาสนาพราหมณ์ฮินดู และศาสนาซิกซ์ เป็นต้น

ขอบ คุณข้อมูลจาก หนังสือจดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555





พระราชกรณียกิจ : ด้านเกษตรกรรม

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อส่งเสริมด้านการเกษตรกรรมอันเป็นอาชีพหลัก ของปวงชนชาวไทยตลอดมา เช่น เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพระราชพิธีพืชมงคล ณ วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นประจำ และ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2529 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงทำปุ๋ยหมักเป็นปฐมฤกษ์จากผักตบชวาและพืชอื่น ๆ ณ บ้านแหลม สะแก ตำบลเดิมบาง อำเภอ บางนางบวช ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2545 เพื่อช่วยเหลือราษฎรในท้องถิ่นให้ได้มีเทคโนโลยีการเกษตรแผนใหม่ และนำมาปรับปรุงงานเกษตรกรรมของตนให้ได้ผลผลิตมากขึ้น และได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในการทำนาสาธิตโดยใช้ปุ๋ยหมัก ณ ตำบลดอนโพธิ์ทองอำเภอเมือง จังหวัด สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2529 ในการนี้ ได้ทรงปฏิบัติการสาธิตการทำนาด้วยพระองค์เอง เมื่อพระราชทานอุปกรณ์ การทำนา พันธ์ข้าวปลูก และปุ๋ยหมักให้ข้าราชการ ผู้ใหญ่ไปดำเนินการสาธิตแล้ว ได้ทรงถอดฉลองพระบาท ถลกพระสนับเพลา ทรงพระดำเนินลุยโคลน หว่านพันธ์ข้าวปลูกและปุ๋ยหมักในแปลงนาสาธิต โดยมิได้มีกำหนดการไว้ก่อน ยังความชื่นชมโสมนัสปลาบปลื้มปิติและซาบซึ้งในพระราชจริยวัตรแก่บรรดาข้า ราชการและประชาชนที่มาเฝ้าทูลละอองพระบาทในพิธีการวันนั้นเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้พระองค์ยังมีพระราชดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาแหล่งน้ำใน หลายพื้นที่ เช่น ศูนย์การเรีนรู้และพัฒนาด้านการเกษตรกรรมเกษตรวิชญา บ้านกองแหะ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พุทธศักราช 2545 ทรงมีพระชนมายุครบ 50 พรรษา ได้ทรงรับโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ไว้ในพระราชานุเคราะห์และทรงพระราชา นุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธยย่อไว้ในเครื่องหมายตราสัญลักษณ์โครงการ ด้วยทรงประสงค์จะให้บริการแก่เกษตรกร ในการแก้ไขปัญหาด้านการผลิตทางการเกษตรได้อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์ และมีประสิทธิภาพ ต่อมาในปี 2549 ได้พระราชทาน ที่ดินส่วนพระองค์ในพื้นที่สวนบ้านกองแห หมู่ที่ 4 ตำบลโป่งแยง อำเภอแมริม จังหวัดเชียงใหม่จำนวน 1,350 ไร่ ให้กับกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงบน พื้นที่สูงให้แก่เกษตรกรอย่างครบวงจรประจำภาคเหนือ ภายใต้ชื่อโครงการเกษตรวิชญา อันเป็นการสานต่อพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ด้านเศรษฐกิจพอเพียง

ขอบ คุณข้อมูลจาก หนังสือจดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555



 



พระราชกรณียกิจ : ด้านการศึกษา

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงทราบดีว่าเยาวชนในถิ่นทุรกันดารยังด้อยโอกาสในการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาในถิ่นทุรกันดาร 6 โรงเรียนได้แก่โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา จังหวัดนครพนม กำแพงเพชร สุราษฎร์ธานี โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี จังหวัดอุดรธานี สงขลา และ ฉะเชิงเทรา ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์เอง ทรงรับโรงเรียนไว้ในพระราชูปถัมภ์ พระราชทานวัสดุอุปกรณ์การศึกษาอันทันสมัย เช่น คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ วิดีทัศน์ พระราชทานคำแนะนำ และทรงส่งเสริมให้โรงเรียนดำเนินโครงการอันเป็นประโยชน์แก่นักเรียน เช่น โครงการอาชีพอิสระ เพื่อให้เยาวชนใช้ความรู้ประกอบอาชีพเลี้ยงตนและครอบครัวได้เมื่อจบการศึกษา ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมโรงเรียน ทรงติดตามผลการศึกษา และโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และหม่อมเจ้าสิริวัณวรี พระราชธิดาทั้งสองพระองค์ทรงร่วมกิจกรรมของโรงเรียนต่างๆ เสมอทั้งนี้ด้วยน้ำพระหฤทัยที่ทรงพระเมตตาห่วงใยเยาวชนผู้ด้อยโอกาส และในด้านอุดมศึกษา พระองค์ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่ บัณฑิตของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ปีละเป็นจำนวนมากทุกปี ในปี พ.ศ. 2552 ได้มีพระราชดำริให้จัดตั้ง “มูลนิธิทุนการศึกษาพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (ม.ท.ศ.) “เพื่อเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่เยาวชนผู้ยากไร้แต่เรียนดี ความประพฤติดี ให้ได้ศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งสายสามัญและสายอาชีพ ต่อเนื่องไปจนจบปริญญาตรี และจนถึงขั้นสูงสุดตามความสามารถของผู้รับทุน เพื่อเป็นการสร้างทรัพยากรบุคคลของชาติให้มีคุณภาพ” และทรงเน้นย้ำว่า“เมื่อทําโครงการมาแล้ว จําเป็นต้องศึกษา ติดตาม และพัฒนาแผนในการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง การทํางานที่ได้ผล ต้องศึกษาข้อมูล มีการปรับแผนให้ทันสมัย และมีความใส่ใจที่จะทํางานต่อเนื่อง..”

ขอบ คุณข้อมูลจาก หนังสือจดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555





พระราชกรณียกิจ : ด้านการต่างประเทศ

สมเด็จพระบรมโอรสาธราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระวิริยะอุตสาหะประกอบพระราชกรณียกิจสำคัญๆ ในการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ เสมอมา ได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไปทรงเยือนมิตรประเทศทั่วทุกทวีปอย่างเป็นทางการเป็นประจำทุกปีๆ ละหลายครั้งเช่น เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนประเทศอิตาลี และทรงพบพระสันตะปาปา เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2525 ระหว่างวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ถึง 8 มีนาคม พ.ศ. 2530 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ ทรงพบนายเติ้ง เสี่ยวผิง ณ มหาศาลาประชาคม กรุงปักกิ่ง เสด็จพระราชดำเนินทรงเยือนประเทศญี่ปุ่น ทรงพบ สมเด็จพระจักรพรรดิ และสมเด็จพระจักรพรรดินี เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2530 ประเทศต่างๆที่เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเจริญสัมพันธไมตรีในฐานะผู้แทนพระองค์ และในส่วนของพระองค์เอง มีอีกเป็นจำนวนมาก ในการเสด็จพระราชดำเนินไปประเทศใดนั้น จะทรงเตรียมพระองค์ ด้วยการศึกษาเกี่ยวกับประเทศที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนอย่างละเอียด ทุกครั้ง ระหว่างประทับอยู่ในประเทศดังกล่าว ก็จะทรงมุ่งมั่นสร้างสานเจริญทางพระราชไมตรีและมีความสนพระทัยที่จะเสด็จพระ ราชดำเนินไปทอดพระเนตรกิจการด้านต่างๆ เพื่อทรงนำกลับมาปรับและประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาประเทศ

ขอบ คุณข้อมูลจาก หนังสือจดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555





พระราชกรณียกิจ : ด้านสังคมสงเคราะห์

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาห่วงใยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนที่ด้อย โอกาสและขาดแคลน ได้ทรงพระอุตสาหะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมชุมชนแออัดในกรุงเทพฯหลายแห่ง เช่น ชุมชนแออัดเขตพระโขนง เขตคลองเตย เขตยานนาวา เป็นต้น ทรงพระกรุณาพระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องกีฬา เครื่องดับเพลิง โปรดเกล้าฯให้กรมทหารในบังคับบัญชาของพระองค์ ร่วมกับประชาชนพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทั้งยังพระราชทานพระราชทรัพย์สนับสนุนโครงการของชุมชน เช่น โครงการพัฒนาเด็กเล็กที่ขาดแคลน โครงการปราบปรามยาเสพติดในหมู่เยาวชนชุมชนแออัดคลองเตย เพื่อให้เยาวชนผู้ด้อยโอกาสเหล่านั้นเติบโตเป็นพลเมืองดีและเป็นทรัพยากร บุคคลทีมีคุณค่าในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต พระองค์ได้ทรงเสด็จไปทอดพระเนตรการปฏิบัติงานของ ศาลต่างๆในกระทรวงยุติธรรม กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2530 เมื่อประเทศชาติประสบกับภัยพิบัติธรรมชาติต่างๆ พระองค์ได้ทรงพระราชทานพระราชานุเคราะห์แก่ราษฎรผู้ประสบภัยมาโดยตลอด ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมในสถานที่ประสบภัยด้วยพระองค์เอง แม้ในพื้นที่ที่เสี่ยงมาก ทรงติดตามความเป็นอยู่ของผู้ประสบภัยอย่างใกล้ชิด พระราชทานกำลังใจ พระราชทานอาหาร น้ำ ถุงยังชีพ และพระราชทานพระราชูปถัมภ์แก่เด็กกำพร้าอันเนื่องมาจากภัยพิบัติ ผู้ขาดที่พึ่ง ให้มีบ้านและ การศึกษาที่ดี เมื่อปลายเดือนเมษายน พ.ศ. 2551 พายุไซโคลนนาร์กิสได้พัดกระหน่ำเข้าสู่ประเทศสหภาพพม่า ทำให้มีผู้เสียชีวิตและสูญหายนับแสนราย และมีผู้ประสบภัยอีกนับล้านคน ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเกือบทั้งหมดไม่สามารถใช้การได้ พระองค์ได้ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานสิ่งของบรรเทาทุกข์ อันได้แก่ ผลิตภัณฑ์ของสมาชิกและกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสายใยรักแห่งครอบครัว ประกอบด้วย อาหารและเครื่องอุปโภคที่จำเป็น และยังทรงส่งหน่วยแพทย์พระราชทานในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จำนวน 30 คน พร้อมเครื่องมือผ่าตัด ยา และเวชภัณฑ์ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ อีกทั้งพระองค์ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เตรียมหน่วยแพทย์ เคลื่อนที่ คณะควบคุมป้องกันโรคที่มีประสบการณ์พร้อมเวชภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์อื่นกว่า 100 คน เป็นคณะที่ 2 ซึ่งสามารถเดินทางเข้าช่วยเหลือทันทีเมื่อประเทศพม่าขอเพิ่มเติม ไม่เพียงเท่านั้นในส่วนของมิตรประเทศซึ่งประสบภัยพิบัติ พระองค์ได้พระราชทานพระราชานุเคราะห์เช่นกัน เช่น ได้เสด็จพระดำเนินแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9ไปสาธารณรัฐปากีสถาน พระราชทานสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2549 และพระราชทานความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2554

ขอบ คุณข้อมูลจาก : หนังสือจดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555





พระราชกรณียกิจ : ด้านการแพทย์ และการสาธารณสุข

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงตระหนักว่าสุขภาพพลานามัยอันดีของประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญของการสร้าง สรรค์ทรัพยากรบุคคลอันมีคุณภาพไว้เป็นพลังในการพัฒนาประเทศ จึงทรงสนพระราชหฤทัยในการประกอบพระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และสาธารณสุข เช่น เมื่อรัฐบาลได้น้อมเกล้าฯถวายโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช เนื่องในพระราชพิธีอภิเษกสมรสจำนวน 21 แห่ง ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ พระองค์ก็ได้ทรงพระอุตสาหะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมโรงพยาบาลสม่ำเสมอ พระราชทานพระราชทรัพย์สนับสนุนให้มีอุปกรณ์การแพทย์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัยเพื่อสามารถให้บริการที่ดีแก่ประชาชน และทรงรับผู้ป่วยยากไร้ไว้ในพระราชานุเคราะห์ เมื่อ พ.ศ. 2537 ทรงรับเป็นประธานกรรมการอำนวยการจัดสร้างอาคารศูนย์โรคหัวใจ สมเด็จพระบรมราชินีนาศพ.ศ. 2550 ได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์สุขภาพชุมชนที่หมู่บ้านสันติ 2 ตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต จังหวัดยะลา และเมื่อ พ.ศ. 2554 พระองค์ได้ทรงสนับสนุนโครงการตรวจสุขภาพภิกษุ สามเณร และผู้นำศาสนา เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 

ขอบ คุณข้อมูลจาก หนังสือจดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555

ที่มา
http://www.krisdika.go.th/web/guest/king10activity


Link: คลิ๊กที่นี่

Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

view

 แบ่งปันความรู้

 หากใฝ่ฝัน ความก้าวหน้า

 จงสู้ต่อไป อย่าไหวหวั่น

 ขอเพียงตั้งใจ ใฝ่รู้

 เพราะเราคือ คนไทยใจกล้าแกร่ง

view